วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Flu-2009-CPG-7-8-2009

Flu2009-Management

แนวทางการดูแลผู้ป่วยปอดอักเสบจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 7 สิงหาคม 2552
1
แนวทางการปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยปอดอักเสบ
จากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ A (H1N1)
ณ วันที่ 7 สิงหาคม 2552
--------------------------------------------------------------------------
แนวทางการปฏิบัตินี้ เป็นเพียงข้อมูลทั่วไปและใช้ประกอบการ
ดูแลรักษาผู้ป่วยปอดอักเสบแพทย์ผู้รักษาพึงพิจารณาใช้ให้เหมาะสมกับ
ผู้ป่วยแต่ละราย
1) การวินิจฉัย
ผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ A (H1N1)
ร่วมกับ
1.1. อาการแสดงที่สงสัยว่าจะมีปอดอักเสบ ได้แก่
ก. หายใจเร็ว
อายุ < 2 เดือน อัตราการหายใจ > 60 ครั้ง/นาที
อายุ 2-12 เดือน อัตราการหายใจ > 50 ครั้ง/นาที
อายุ 1-5 ปี อัตราการหายใจ > 40 ครั้ง/นาที
อายุ > 5 ปี อัตราการหายใจ > 30 ครั้ง/นาที
เด็กโตและผู้ใหญ่ อัตราการหายใจ > 24 ครั้ง /นาที
ข. หายใจหอบเหนื่อย เจ็บหน้าอก
ค. ฟังปอดได้ยินเสียงผิดปรกติ
ง. SpO2 < 95% โดยไม่ได้ให้ออกซิเจนเพิ่ม
ผู้ที่มีอาการเหล่านี้ควรได้รับการถ่ายภาพรังสีทรวงอกทุกราย
1.2. ภาพรังสีปอดที่แสดงว่าปอดอักเสบ
- ในระยะแรกอาจพบแค่ increased bronchovascular marking หรือ
คล้ายกับมี cardiogenic pulmonary congestion ได้ ควรถ่ายภาพรังสีทรวงอกซ้ำ
ในวันถัดไปเพื่อยืนยันการวินิจฉัย
- ภาพรังสีปอดส่วนใหญ่มีลักษณะเป็น interstitial infiltration แบบ
bilateral หรือ unilateral ที่พบเป็น lobar หรือ multi-lobar infiltration พบน้อย
2) การรับไว้ในโรงพยาบาล
ผู้ป่วยปอดอักเสบหรือสงสัยปอดอักเสบควรรับไว้รักษาในโรงพยาบาลทุกราย
3) การส่งตรวจหาไวรัสไข้หวัดใหญ่
ส่งตรวจด้วยหาไวรัสโดยวิธี RT-PCR ทุกราย โดยส่งตรวจจาก
nasopharyngeal swab หรือ throat swab (ให้ได้ epithelial cells โดยหมุน
swab 2-3 ครั้ง) หรือ ดูดเสมหะจากปอด (endotracheal aspirate) ในรายปอด
อักเสบ
4) การให้ยา
4.1. ยาต้านไวรัส
- เริ่มยา oseltamivir ทันที โดยไม่ต้องรอผลการตรวจไวรัส ควรให้ยา
นาน 5 วัน แต่หากเป็นผู้ป่วยหนัก หรือยังมีอาการหนักเมื่อรักษาได้ 5 วัน ให้กินยา
ต่ออีก 5 วัน รวมเป็น 10 วัน
- ไม่หยุดยาก่อนกำหนดแม้ว่าผลการตรวจจะพบเป็นลบในภายหลัง จะหยุด
ยาก่อนกำหนดได้เมื่อพบและเปลี่ยนการวินิจฉัยสาเหตุของปอดอักเสบว่าเกิดจาก
สาเหตุอื่นเท่านั้น
- ผู้ป่วยปอดอักเสบที่อาการรุนแรงมาก หรือไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษา
อาจพิจารณาให้ zanamivir ร่วมด้วย
- ขนาดยา oseltamivir โดยทั่วไปในผู้ใหญ่ คือ 75 มก.ต่อครั้งวันละ 2 ครั้ง
ในคนอ้วนมาก อาจจะพิจารณาให้เป็นสองเท่าของคนปกติ หรือ 150 มก. ต่อครั้ง
วันละ 2 ครั้ง
แนวทางการดูแลผู้ป่วยปอดอักเสบจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 7 สิงหาคม 2552
2
- ขนาดยา oseltamivir สำหรับเด็ก ให้ดูจากตาราง
น้ำหนักตัว/ อายุ ขนาดยา oseltamivir
>40 กก. 75 มก. วันละ 2 ครั้ง
>23 - 40 กก. 60 มก. วันละ 2 ครั้ง
>15 - 23 กก. 45 มก. วันละ 2 ครั้ง
อายุ > 1 ปี, <15 กก. 30 มก. วันละ 2 ครั้ง
6-11 เดือน 25 มก. วันละ 2 ครั้ง
3-5 เดือน 20 มก. วันละ 2 ครั้ง
< 3 เดือน 12 มก. วันละ 2 ครั้ง
- ขนาดยา oseltamivir ในผู้ป่วยไตบกพร่อง ที่มี creatinine clearance
10-30 มล./นาที ให้ขนาดต่อ dose เท่าเดิม แต่ลดเหลือวันละครั้ง
- ขนาดยา zanamivir ในผู้ใหญ่ ใช้ 10 มก. ต่อครั้ง วันละ 2 ครั้ง พ่นเข้า
ทางเดินหายใจด้วยวิธีการที่เหมาะสม ในเด็กให้ได้ตั้งแต่อายุ 5 ปีขึ้นไป ในขนาด
เท่ากับผู้ใหญ่
4.2. ยาต้านแบคทีเรีย
พิจารณาให้ยาต้านแบคทีเรียร่วมด้วย ในผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบ เป็นเวลา
5 - 7 วัน
4.3. Systemic corticosteroid
อาจจะพิจารณาให้ hydrocortisone 250-300 มก.ต่อวัน หรือ
dexamethasone มก.ต่อวัน ในผู้ป่วยปอดอักเสบอาการรุนแรงทุกราย
การให้ corticosteroid ในผู้ป่วยเด็กควรพิจารณาเป็นรายๆไป เฉพาะผู้ป่วย
ที่รุนแรงมาก โดยอาจพิจารณาใช้ methylprednisolone 2 มก./กก./วัน
4.4. ยาขยายหลอดลม
- พิจารณาให้ยาขยายหลอดลม + inhaled corticosteroid ในผู้ป่วยที่ฟัง
เสียงปอดได้ rhonchi ผู้ป่วยที่ไอมาก และผู้ป่วยที่มี airway resistance สูงกว่าปกติ
ขณะใช้เครื่องช่วยหายใจ
- หลีกเลี่ยงการให้ยาขยายหลอดลมในรูปของ nebulization (โดยเฉพาะ
ผู้ป่วยที่หายใจเอง) ให้ใช้ metered-dose inhaler (MDI) แทนและให้ผ่าน spacer
5) การให้สารน้ำ
- ให้สารน้ำอย่างสมดุล (balanced intake/output) ระวังการให้น้ำเกิน
(over-hydration)
- ในผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรงจนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และ ผู้ป่วย
acute respiratory distress syndrome (ARDS) และมี hemodynamic ดี ควรให้
สารน้ำอย่างสมดุล (balanced intake/output) หรือให้อยู่ในภาวะขาดน้ำเล็กน้อย
ถ้าผู้ป่วยมี severe hypoxia พิจารณาให้ยาขับปัสสาวะ เช่น furosemide เพื่อให้
ปอดแห้ง ในกรณีที่มี “leaky lungs”
6) การแก้ภาวะพร่องออกซิเจน
6.1. ให้ออกซิเจน ผ่านทาง nasal cannula, simple mask หรือ partial
rebreathing mask เพื่อให้ SpO2 > 95%
6.2. พิจารณา endotracheal intubation และการช่วยหายใจ ในกรณีที่
- ให้ออกซิเจนทาง partial rebreathing mask > 10 LPM แล้ว SpO2 ยัง
น้อยกว่า 95%
- มีอาการแสดงของกล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรงเช่น respiratory alternans
หรือ respiratory paradox
- ซึมลงหรือกระสับกระส่าย
- มี ventilatory failure เช่นหายใจตื้นลง หรือ PaCO2 > 45 mmHg
แนวทางการดูแลผู้ป่วยปอดอักเสบจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 7 สิงหาคม 2552
3
7) การดูแลผู้ป่วยที่ต้องได้รับการช่วยหายใจ
7.1. ควรรับการรักษาใน ICU ทุกราย
7.2. การดูดเสมหะ ควรใช้ in-line closed-circuit suctioning catheter ในการ
ดูดเสมหะทุกครั้ง เพื่อป้องกันการกระจายของไวรัส
7.3. การใช้เครื่องช่วยหายใจ
- ควรใช้ critical care ventilator ทุกราย และต้องต่อ filter เพื่อกรองเชื้อที่
exhalation port เสมอ
- หลีกเลี่ยงการใช้ pressure cycling ventilator (เช่น Bird ventilator)
เพราะลมหายใจออกอาจมีเชื้อไวรัสปนเปื้อนอยู่ แต่ไม่มีการกรองอากาศที่หายใจ
ออก และการที่มีความเร็วลมสูง อาจเป็นสาเหตุให้ไวรัสแพร่กระจายได้มาก
- ในระยะแรกๆของการช่วยหายใจ ควรตั้งเครื่องด้วย full-support mode
[ เช่น volume-controlled ventilation, pressure-controlled ventilation, หรือ
high-frequency ventilation (HFV) หรือ bilevel ventilation, airway pressure
release ventilation (APRV)]
- จะใช้ partial support mode [เช่น continuous positive airway
pressure (CPAP) หรือ pressure support ventilation (PSV) เมื่อผู้ป่วยดีขึ้นและ
เข้าสู่กระบวนการหย่าเครื่องช่วยหายใจเท่านั้น
- ผู้ป่วย ARDS ส่วนใหญ่จะตอบสนองต่อการตั้ง positive end-expiratory
pressure (PEEP) ระดับน้อยถึงปานกลาง (<12-15 cmH2O) เนื่องจากกลศาสตร์
พื้นฐานของปอดเป็นแบบ restriction การตั้ง PEEP ที่ระดับสูงกว่านี้ควรจะ
พิจารณาเฉพาะราย
- ARDS คือภาวะที่มีภาพรังสีทรวงอกมีลักษณะ bilateral infiltrates โดย
ไม่ปรากฏร่องรอยของภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น มีขนาดของหัวใจโตขึ้น หรือมี
pulmonary artery wedge pressure สูงกว่าปกติ และการตรวจแก๊สในเลือดแดง
พบ PaO2/FiO2 < 200
7.4. ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยเด็กที่แตกต่างจากผู้ใหญ่
7.4.1. ผู้ป่วยเด็กที่มี ARDS
- ให้พิจารณาเลือก pressured-controlled CMV mode ตั้งแต่แรก.
- เนื่องจากพยาธิสภาพที่รุนแรงในปอดทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะ
air-leak syndrome (pneumothorax, pneumo-mediastinum or subcutaneous
emphysema) โดยให้ติดตามวัดค่า peak airway pressure และ plateau
pressure อย่างใกล้ชิด
- ในกรณีที่ต้องใช้ peak airway pressure สูงกว่า 30 ซม.น้ำ เพื่อให้ได้
optimal chest rising ให้พิจารณาเพิ่ม inspiratory time เพื่อให้ได้ tidal volume ที่
ต้องการ แทนการเพิ่ม peak airway pressure หรือลดค่าเป้าหมายของ tidal
volume ลงจากเดิม (ในเด็ก ค่าเป้าหมายของ tidal volume คือ 5-8 ซีซี ต่อน้ำหนัก
ตัวเป็นกิโลกรัมของ predicted body weight) นอกจากนี้ให้พิจารณานำ
permissive hypercapnia concept มาใช้ โดยเฝ้าติดตาม blood pH ควบคู่ไปกับ
PaCO2 (ในกรณีที่แพทย์มีประสบการณ์ในการทำ lung recruitment และ PEEP
titration ให้พิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสม ระดับของ PEEP ที่เหมาะสม
อาจเริ่มที่ 8-10 ซม.น้ำ)
- หลังจากให้ออกซิเจน 100% (FiO2 1.0) และผู้ป่วยดีขึ้นคือมีค่า SpO2
ในระดับที่เหมาะสม ควรลดปริมาณออกซิเจนที่ให้ โดยลด FiO2 ให้น้อยกว่า 0.6
และรักษาระดับ SpO2 ไว้ที่ระดับเป้าหมาย เพื่อป้องกันภาวะพิษจากออกซิเจน ซึ่ง
เป็นอันตรายต่อปอด
7.4.2. ข้อแนะนำเกี่ยวกับอัตราการช่วยหายใจเริ่มต้นในเด็ก มีดังนี้
อายุ (ปี) อัตราการช่วยหายใจ (ครั้ง/ นาที)
<1 50-60
1-2 40
2-5 36-40
5-12 30
>12 24-30
แนวทางการดูแลผู้ป่วยปอดอักเสบจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 7 สิงหาคม 2552
4
7.4.3. ข้อแนะนำเกี่ยวกับ inspiratory time ในเด็ก
อายุ (ปี) Inspiratory time (Ti) (วินาที)
<2 0.5-0.75
2-5 0.65-0.85
>5 0.75-1.0
8) การพิจารณาภาวะของผู้ป่วยก่อนเคลื่อนย้าย
- ขณะเคลื่อนย้าย ผู้ป่วยควรจะมี hemodynamics ที่ stable โดยไม่ต้องใช้
vasopressor ในขนาดสูง
- หลีกเลี่ยงการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ต้องการ FiO2 >0.6 (เพื่อรักษาระดับ
SpO2 ≥95% หรือ PaO2 ≥65 mmHg)
9) การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
9.1. ควรมี portable monitor ทุกครั้งที่มีการเคลื่อนย้าย เพื่อติดตาม EKG,
NIBP, SpO2
9.2. ก่อนทำการเคลื่อนย้าย ทดลอง ventilate ด้วย self inflating bag หรือ
portable ventilator เป็นเวลา
อย่างน้อย10 นาที ถ้าไม่มี desaturation จึงเริ่มเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
9.3. ถ้าเลือกช่วยการหายใจของผู้ป่วยด้วย self inflating bag ในขณะ
เคลื่อนย้าย ให้ปฏิบัติดังนี้
- ต่อ oxygen reservoir bag, สวมหัว PEEP ที่ exhalation port พร้อม
ตั้งระดับ PEEP ตามที่ ต้องการ
- เปิด oxygen 10-15 LPM เสมอ (สุด scale ของ flow meter)
- บีบลูกโป่งด้วยอัตราที่ไม่เร็วเกินไป (16-20 ครั้งต่อนาทีในผู้ใหญ่ 30-
40 ครั้งต่อนาทีในเด็ก)
9.4. ถ้าลือกช่วยการหายใจของผู้ป่วยด้วยด้วย portable ventilator ในขณะ
เคลื่อนย้าย ควรใช้ volume ventilator และปรับ settingsให้เท่ากับ critical
ventilator settings ขณะอยู่ในหอผู้ป่วย
9.5. ในการส่งผู้ป่วยไปรับการรักษาที่สถานพยาบาลอื่น ให้เลือกระยะการ
เดินทางที่ใกล้ที่สุด และเลือกช่วงเวลาเดินทางที่สะดวก รวมทั้งต้องมีแพทย์เดินทาง
ไปด้วยเสมอ
การป้องกันการแพร่เชื้อในโรงพยาบาลกรณีรับผู้ป่วยเข้ารักษา
ในโรงพยาบาล
หลักทั่วไปในการดูแลผู้ป่วย
1. ให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องแยกเดี่ยว หรืออยู่ร่วมกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อเดียวกันในหอผู้ป่วย
แยก (cohort ward) หรือ ตึกผู้ป่วยแยก (cohort building)
2. กรณีที่รับผู้ป่วยเข้า ICU ควรให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องแยกที่มีระบบระบายอากาศดี
พอ อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
2.1. ห้อง air-borne infection isolation room (AIIR)
2.2. มีการติดตั้งพัดลมระบายอากาศออกภายนอกห้อง อย่างน้อย 6 air
change/hour
2.3. ถ้าไม่มีห้องแยก ให้จัดผู้ป่วยนอนเตียงที่ห่างจากผู้ป่วยรายอื่นอย่างน้อย 2
เมตร และอยู่ทางใต้ลมเสมอ
3. การดูดเสมหะสำหรับผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ให้ใช้ in-line suction
เท่านั้น ถ้าไม่มี ผู้ที่ดูดเสมหะ ต้องใส่ mask ชนิด N95 และ face shield หรือ
goggle ใส่หมวก และเสื้อกาวน์ ชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง (หรือส่งซัก) เมื่อปฏิบัติงาน
เสร็จแล้ว ให้ถอดถุงมือ และเครื่องป้องกันอื่น ๆ ตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง
แนวทางการดูแลผู้ป่วยปอดอักเสบจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 7 สิงหาคม 2552
5
4. การทำความสะอาดห้อง ให้เช็ดพื้นผิวที่อาจจะมีการปนเปื้อน เช่น ราวข้างเตียง
ลูกบิดประตู Keyboard computer ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อบ่อย ๆ บุคลากรที่ทำความ
สะอาด ให้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันด้วย (เสื้อกาวน์ หรือผ้าพลาสติกกันเปื้อน ถุง
มือ และ surgical mask) เสมอ
5. การจัดการเสื้อผ้าและอุปกรณ์ที่ใช้กับผู้ป่วย ถ้ามีการปนเปื้อนสารคัดหลั่ง ให้ทิ้ง
ลงถังผ้าติดเชื้อ ส่วนอุปกรณ์ ให้ทำความสะอาด กำจัดเชื้อตามประเภทของ
อุปกรณ์นั้น ๆ
การป้องกันการติดเชื้อในบุคลากร
1. การใช้ mask
a. กรณีทั่วๆ ไป ให้ใช้ surgical mask เพียงชั้นเดียว (ตามแนวทางปฏิบัติของ
กระทรวงสาธารณสุข)
b. กรณีที่เข้าใกล้ผู้ติดเชื้อขณะทำหัตถการที่ทำให้เกิด aerosol เช่น ให้
nebulization, respiratory therapy, suction, bronchoscopy หรือ
autopsy เท่านั้น จึงใช้ N95 mask รวมทั้งต้องใส่ถุงมือด้วย
2. ควรใส่แว่นตา และชุดกาวน์ ถ้าคาดว่าจะมีการกระเด็นของเสมหะ หรือน้ำลาย
ใส่หน้าหรือโดนเสื้อผ้าได้ เช่นการใส่ท่อช่วยหายใจ การทำ nasopharyngeal
swab การดูแลผู้ป่วยเด็กที่ต้องสัมผัสใกล้ชิด
3. การใส่เครื่องป้องกัน ให้ใส่ตามลำดับดังนี้ ชุดกาวน์ mask แว่นตา ถุงมือ ส่วน
การถอดเครื่องป้องกัน ให้ถอดตามลำดับดังนี้ ถุงมือ แว่นตา ชุดกาวน์ mask
(ตามรูป)
4. การทำ nasopharyngeal swab และให้บุคลากรใส่ ถุงมือ surgical mask,
goggle หรือ face shield และนั่งด้านข้างของผู้ป่วย
5. ปฏิบัติตามหลัก hand hygiene และหลักสุขบัญญัติอื่น ๆ อย่างเคร่งครัด
6. ถ้าบุคลากรมีอาการป่วยเป็นไข้หวัด ให้หยุดงานทันที และไปรับการตรวจตาม
ระบบของโรงพยาบาล
7. ไม่แนะนำการให้ยาเพื่อ chemoprophylaxis เพราะโรคมีการระบาดทั่วไปใน
วงกว้างแล้ว การกินยาเพื่อป้องกันให้ได้ผลอาจจะต้องกินเป็นเวลานาน จนกว่า
การระบาดจะยุติลง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ การใช้หน้ากากอนามัยอย่าง
ถูกต้องและการปฏิบัติตามหลักสุขบัญญัติ เป็นมาตรการที่ได้ผลในระดับที่
ยอมรับได้ดีกว่า
การป้องกันการติดเชื้อสำหรับญาติ
1. ญาติที่เข้าเยี่ยมผู้ป่วยใน ICU ควรสวมอุปกรณ์ป้องกันคือ เสื้อกาวน์ surgical
mask และเน้นเรื่องการล้างมือ โดยเฉพาะก่อนการจับต้องสิ่งของอื่นหลังจาก
เข้าเยี่ยมผู้ป่วยแล้ว
2. จำกัดการเยี่ยม เฉพาะผู้ที่สุขภาพแข็งแรงและสามารถปฏิบัติตามหลักการ
ป้องกันการติดเชื้อได้เท่านั้น
3. ห้ามญาติที่ป่วยเป็นไข้หวัดเข้าเยี่ยมผู้ป่วยในโรงพยาบาล

(โดย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย
สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย
สมาคมเวชบำบัดวิกฤติแห่งประเทศไทย
ชมรมควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล
ชมรมโรคระบบทางเดินหายใจและเวชบำบัดวิกฤตในเด็ก
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์และสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย และ กระทรวงสาธารรณสุข )

Flu-2009-4-หญิงมีครรภ์

คำแนะนำสำหรับหญิงมีครรภ์ วันที่ 7 สิงหาคม 2552
แนวทางการดูแลรักษาหญิงตั้งครรภ์ที่ป่วย
หรือสงสัยว่าเป็นไข้หวัดใหญ่
__________________________________________
หญิงตั้งครรภ์
การป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ทำ ให้หญิงตั้งครรภ์มีโอกาสที่จะเกิด
ภาวะแทรกซ้อนทางระบบการหายใจและไหลเวียน เพิ่มขึ้นประมาณ 4
เท่าของคนปกติแม้จะเป็นคนแข็งแรงดีมาก่อน ภาวะแทรกซ้อนต่อ
ทารกในครรภ์จากการป่วยรุนแรงและมีไข้สูงอาจจะเกิดขึ้นได้ จึงได้
แนะนำแนวทางการดูแลรักษาและป้องกันไข้หวัดใหญ่ดังนี้
การป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่
• ให้ปฏิบัติตามวิธีการป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่แนะนำแก่คนทั่วไป
อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการล้างมือ การสวมหน้ากาก
อนามัยหากต้องเข้าไปในสถานที่หรือห้องประชุมที่มีผู้คน
จำนวนมาก
• หลีกเลี่ยงการดูแลสมาชิกในครอบครัวที่ป่วยไข้หวัดใหญ่ และ
ให้อยู่ห้องแยกกัน
• หลีกเลี่ยงการใช้มือแคะจมูก ขยี้ตา โดยที่ยังไม่ล้างมือหลังจับ
สิ่งของที่ใช้ร่วมกับผู้อื่น
• นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
• การตรวจขณะฝากครรภ์ ควรใช้เวลาเท่าที่จำเป็น ให้สวม
หน้ากากอนามัยทั้งแพทย์และหญิงตั้งครรภ์ หากจัดเป็นสถานที่
ฝากครรภ์ที่แยกจากการตรวจอื่น ๆ จะช่วยลดการติดเชื้อได้
• การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ไม่สามารถ
ป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ได้ การฉีด
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ จึงต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของ
วัคซีนนั้นต่อหญิงตั้งครรภ์และทารก หากจะฉีด แนะนำให้ฉีด
หลังตั้งครรภ์ 3 เดือนขึ้นไป
การดูแลรักษาตนเองเมื่อป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่
• ให้ดูแลรักษาตนเองที่บ้านได้ หากรู้สึกว่าป่วยเล็กน้อย และ
ตอบสนองดีต่อยาลดไข้ พาราเซตามอล
• หากมีอาการรุนแรงคงเดิมหรือเพิ่มขึ้นหลังป่วยได้ 2 วัน หรือ
เริ่มรู้สึกว่ามีอาการรุนแรงผิดปกติ ให้ไปพบแพทย์เพื่อ
พิจารณารับยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่
• หากมีไข้สูง หนาวสั่น หรือวัดได้อุณหภูมิเกิน 38.5 องศา
เซลเซียส ให้ไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของไข้และพิจารณา
การให้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่หากมีอาการหรือลักษณะ
คลินิกเข้าได้กับไข้หวัดใหญ่
การใช้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่
เนื่องจากยังไม่ทราบผลข้างเคียงของยาขนานนี้ต่อทารกในครรภ์
แน่ชัด แต่คาดว่ามีผลน้อย และในหญิงตั้งครรภ์ที่ยังป่วยรุนแรง
พอสมควรหลังป่วยได้ 2 วัน การใช้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ในกรณีนี้
จะลดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อมารดาและทารกในครรภ์ได้
การให้ยาในกรณีนี้จึงเหมาะสม

(โดย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย
ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย)