วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Flu-2009-4-หญิงมีครรภ์

คำแนะนำสำหรับหญิงมีครรภ์ วันที่ 7 สิงหาคม 2552
แนวทางการดูแลรักษาหญิงตั้งครรภ์ที่ป่วย
หรือสงสัยว่าเป็นไข้หวัดใหญ่
__________________________________________
หญิงตั้งครรภ์
การป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ทำ ให้หญิงตั้งครรภ์มีโอกาสที่จะเกิด
ภาวะแทรกซ้อนทางระบบการหายใจและไหลเวียน เพิ่มขึ้นประมาณ 4
เท่าของคนปกติแม้จะเป็นคนแข็งแรงดีมาก่อน ภาวะแทรกซ้อนต่อ
ทารกในครรภ์จากการป่วยรุนแรงและมีไข้สูงอาจจะเกิดขึ้นได้ จึงได้
แนะนำแนวทางการดูแลรักษาและป้องกันไข้หวัดใหญ่ดังนี้
การป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่
• ให้ปฏิบัติตามวิธีการป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่แนะนำแก่คนทั่วไป
อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการล้างมือ การสวมหน้ากาก
อนามัยหากต้องเข้าไปในสถานที่หรือห้องประชุมที่มีผู้คน
จำนวนมาก
• หลีกเลี่ยงการดูแลสมาชิกในครอบครัวที่ป่วยไข้หวัดใหญ่ และ
ให้อยู่ห้องแยกกัน
• หลีกเลี่ยงการใช้มือแคะจมูก ขยี้ตา โดยที่ยังไม่ล้างมือหลังจับ
สิ่งของที่ใช้ร่วมกับผู้อื่น
• นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
• การตรวจขณะฝากครรภ์ ควรใช้เวลาเท่าที่จำเป็น ให้สวม
หน้ากากอนามัยทั้งแพทย์และหญิงตั้งครรภ์ หากจัดเป็นสถานที่
ฝากครรภ์ที่แยกจากการตรวจอื่น ๆ จะช่วยลดการติดเชื้อได้
• การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ไม่สามารถ
ป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ได้ การฉีด
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ จึงต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของ
วัคซีนนั้นต่อหญิงตั้งครรภ์และทารก หากจะฉีด แนะนำให้ฉีด
หลังตั้งครรภ์ 3 เดือนขึ้นไป
การดูแลรักษาตนเองเมื่อป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่
• ให้ดูแลรักษาตนเองที่บ้านได้ หากรู้สึกว่าป่วยเล็กน้อย และ
ตอบสนองดีต่อยาลดไข้ พาราเซตามอล
• หากมีอาการรุนแรงคงเดิมหรือเพิ่มขึ้นหลังป่วยได้ 2 วัน หรือ
เริ่มรู้สึกว่ามีอาการรุนแรงผิดปกติ ให้ไปพบแพทย์เพื่อ
พิจารณารับยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่
• หากมีไข้สูง หนาวสั่น หรือวัดได้อุณหภูมิเกิน 38.5 องศา
เซลเซียส ให้ไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของไข้และพิจารณา
การให้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่หากมีอาการหรือลักษณะ
คลินิกเข้าได้กับไข้หวัดใหญ่
การใช้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่
เนื่องจากยังไม่ทราบผลข้างเคียงของยาขนานนี้ต่อทารกในครรภ์
แน่ชัด แต่คาดว่ามีผลน้อย และในหญิงตั้งครรภ์ที่ยังป่วยรุนแรง
พอสมควรหลังป่วยได้ 2 วัน การใช้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ในกรณีนี้
จะลดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อมารดาและทารกในครรภ์ได้
การให้ยาในกรณีนี้จึงเหมาะสม

(โดย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย
ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น